คนมองหนัง “The English Game” : ฟุตบอลคือการประสานประโยชน์ทางชนชั้น 30 Mar 202030 Mar 2020 นี่คือซีรี่ส์เน็ตฟลิกซ์ว่าด้วยต้นกำเนิดของ “กีฬาฟุตบอลสมัยใหม่” ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็น “เกมของลูกหลานผู้ดีในโรงเรียนประจำ” มาสู่การเป็น “กีฬา/ความบันเทิงของมหาชน-ชนชั้นแรงงาน” ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกบอกเล่าผ่านปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกึ่งศัตรู ระหว่าง “เฟอร์กัส ซูเทอร์” พ่อค้าแข้งชาวสกอตแลนด์ที่ย้ายมาเล่นฟุตบอลที่อังกฤษ ในฐานะ “นักเตะอาชีพ” รุ่นแรกๆ เพื่อเลี้ยงดูแม่และน้องๆ ซึ่งใช้ชีวิตยากลำบากที่กลาสโกว์ กับ “อาร์เธอร์ คินแนด” ทายาทตระกูลขุนนางเจ้าของธุรกิจธนาคาร ผู้เป็น “ดาวเตะ” ซึ่งแทบจะผูกขาดถ้วยเอฟเอคัพ ในยุคสมัยที่การเล่นฟุตบอลยังเป็นเพียงกีฬาสมัครเล่นของบรรดาผู้ดี แม้ “ชนชั้น” จะเป็นประเด็นหลักของซีรี่ส์เรื่องนี้ แต่โลกทัศน์ที่ “The…
คนมองหนัง สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” 6 Aug 201910 Aug 2019 “ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…
คนมองหนัง ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018 31 Dec 201831 Dec 2018 เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…
คนมองหนัง บันทึกถึง Roma 27 Dec 201827 Dec 2018 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=6BS27ngZtxg ขอพูดเรื่องเทคนิคแบบคนมีความรู้ชนิดงูๆ ปลาๆ ก่อนเป็นลำดับแรก กลายเป็นว่าองค์ประกอบหนึ่งที่ผมชอบมากใน Roma คือเรื่องเสียง ซึ่ง “อัลฟองโซ กัวรอง” พยายามเล่นกับคนดู ด้วยการทำให้เราได้ยินเสียงนู่นนี่ ทางโน้นทางนี้ ที่อยู่นอกเหนือไปจากสถานการณ์ที่ถูกโฟกัสในจอภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ ผมได้อ่านหลายความเห็นที่ตั้งข้อสงสัยว่า Roma นั้นเหมาะสมกับการเผยแพร่ผ่านช่องทางเน็ตฟลิกซ์มากน้อยแค่ไหน เพราะงานด้านภาพที่ดีของหนังอาจเหมาะสมสำหรับการนั่งชมผ่านจอใหญ่ๆ ในโรงภาพยนตร์มากกว่า อย่างไรก็ดี ผมกลับรู้สึกว่า ลูกเล่นด้านเสียงที่กัวรองเลือกใช้ กลับสะท้อนถึงวัฒนธรรมการเสพสื่อบันเทิงในจอคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้ดี เพราะบ่อยครั้ง เวลาเราเปิดดูวิดีโอในคอมพิวเตอร์ เรามักเผลอ/ตั้งใจเปิดคลิปต่างๆ ในหลายๆ หน้าพร้อมกัน…
คนมองหนัง บันทึกถึง “One Cut of the Dead” 5 Nov 20188 Nov 2018 https://www.youtube.com/watch?v=3i3Ny4mn-bU เบื้องต้นเลย คือ หนังงดงามและสนุกมากๆ ทีนี้มาว่ากันถึงประเด็นน่าสนใจในหนังเป็นข้อๆ ไป หนึ่ง ไม่แปลกใจถ้าจะมีการนำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาวางคู่กับ “เณรกระโดดกำแพง” ในฐานะ “หนังพี่น้อง” ที่บอกกล่าวเล่าระบายถึงภาวะดิ้นรนของคนทำหนังตัวเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่หนังทั้งสองเรื่องแชร์ร่วมกัน กลับถูกถ่ายทอดออกมาด้วยมุมมองและกลวิธีที่คล้ายจะแตกต่างกัน สอง ขณะที่ “เณรกระโดดกำแพง” พูดถึงชีวิต ความฝัน ความทุกข์ของคนทำหนังอินดี้นอกระบบอุตสาหกรรม “One Cut of the Dead” กลับเล่าถึงความสุข ความปรารถนาของคนทำหนังในระบบอุตสาหกรรม ที่รับงานหลากหลายจิปาถะ และยอมเรียกร้องงบประมาณจากนายทุน/เจ้าของเงินในราคาไม่สูงนัก…
คนมองหนัง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ” 31 May 201831 May 2018 หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…
คนมองหนัง บันทึกถึง The Florida Project และ Lady Bird 23 Feb 201823 Feb 2018 The Florida Project 1. ชอบและสนใจเรื่องราวแนว "ประชาชนชาวแฟลต" เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เลยสนุก-สะเทือนใจมากๆ หลังดูหนังเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ไปพักนึง ก็นึกถึงประเด็นที่จาร์วิส ค็อคเกอร์ แห่ง Pulp เคยวิจารณ์อัลบั้ม Parklife ของ Blur และหนังเรื่อง Natural Born Killers ของโอลิเวอร์ สโตน เอาไว้ราวๆ ว่า เพลงและหนังเหล่านั้นเป็นการถ้ำมองคนชั้นล่างจากสายตาผู้อุปถัมภ์ของอภิสิทธิ์ชน (หรือเป็นการพยายามพูดแทนคนชั้นล่างด้วยน้ำเสียง/วิธีมองโลกแบบอภิสิทธิ์ชน) เพราะจริงๆ แล้ว พวกคนที่อาศัยอยู่ในแฟลตการเคหะของอังกฤษ…
คนมองหนัง Pop Aye: การเดินทางเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย 3 Jul 20174 Jul 2017 (เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนในภาพยนตร์) หนึ่ง โดยสรุปแล้ว หนังเรื่องนี้เป็นการพยายามทำความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนวัยเกือบๆ หรือกว่า 60 โดยคนรุ่นประมาณ 30 ต้นๆ ซึ่งถ้าหนังออกมาเร็วกว่านี้สักห้าปีเป็นอย่างน้อย ผมในวัยเพิ่งขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรืออาจยังไม่ถึงเลข 3 คงจะไม่ค่อยชอบมันเท่าไหร่นัก แต่พอหนังออกฉายในปีนี้ ปีที่ตัวเองอายุสามสิบกลางๆ แล้ว ผมกลับรู้สึก "อิน" กับ "Pop Aye" มากอยู่ เพราะระยะหลังๆ ในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน ผมมักต้องหัดพยายามมองโลกด้วยสายตาแบบเดียว/คล้ายๆ กับคนทำหนังเรื่องนี้ (ซึ่งคงมีอายุไล่เลี่ยกัน) กล่าวคือ…
คนมองหนัง “น้องฮัก”: ผีใบ้หวย, วงจรแห่งความอาฆาตแค้น, ลำดับชั้นการขูดรีด และสังคมลาวที่เปลี่ยนแปลง 14 Jun 201714 Jun 2017 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=euvEXRBn-BY โดยส่วนตัวยังรู้สึกงงๆ กับตรรกะของบรรดา "ผี" ใน "น้องฮัก" อยู่เล็กน้อย คำอธิบายเรื่อง "กระบวนการเห็นผี" ของตัวละครนำรายหนึ่งของหนังนั้น มา "ชัดเจน" เอาตอนบทสรุปสุดท้าย ตรงส่วนนี้ไม่มีปัญหาคาใจใดๆ แต่ผมยังแอบบสงสัยนิดนึงว่าทำไม "(ว่าที่) ผี" จึงต้องพากันมาใบ้หวยผ่านตัวละครรายนั้น (เธอและคนใกล้ตัวเคยช่วยเหลือหรือมีสายสัมพันธ์กับพวกเขาหรือ? ก็เปล่า ยกเว้นกรณีท้ายสุด) นอกจากนี้ ถ้าคิดแบบตัดพ้อ เราก็อาจรู้สึกได้ว่าทำไม "อำนาจเหนือธรรมชาติ" จึงยอมตกเป็น "เครื่องมือ" ให้ "คนตาดี"…
คนอ่านเพลง เจค บักก์: ดนตรี การเมืองซ้าย-ขวา ความผิดบาปส่วนบุคคล 29 Jun 201615 Mar 2018 เจาะใจ นักร้อง-นักแต่งเพลงหนุ่ม "เจค บักก์" เรื่องดนตรี การเมืองซ้าย-ขวา และความผิดบาปส่วนบุคคล (ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 24-30 มิถุนายน 2559) "เจค บักก์" เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงดาวรุ่งวัย 22 ปี ชาวอังกฤษ อดีตเด็กโรงเรียนเทคนิคจากน็อตติ้งแฮม ซึ่งเคยไปลงทะเบียนเข้าอบรมคอร์สเทคโนโลยีทางดนตรีชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะออกมาตระเวนแต่งเพลง-เล่นดนตรี ตั้งแต่อายุ 16 ปี เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังจากอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก ที่มีชื่อเดียวกับเจ้าตัว เมื่อ ค.ศ.2012 อัลบั้มชุดนั้น ทำให้หนุ่มน้อยวัย 18…