“ยุคทอง” ใน Last Night I Saw You Smiling

ไม่ขอลงรายละเอียดหรือบรรยายอะไรเกี่ยวกับตัวหนังมากนัก เพราะคิดว่าคงมีท่านอื่นๆ เขียนถึงไปเยอะแล้ว หรือกำลังจะเขียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังสารคดีจากกัมพูชาเรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่ 2-3 จุด https://www.youtube.com/watch?v=HJzcUx_jUqM หนึ่ง คนดูจะไม่ได้มองเห็นรูปพรรณสัณฐานของ “the White Building” ช่วงก่อนถูกทุบ ในมุมกว้างๆ เลย แต่จะเห็นเพียงเสี้ยวเล็กส่วนน้อยภายในตึกหรือด้านนอกอาคาร รวมทั้งภาพนิ่งที่สื่อถึงความโอ่อ่าทันสมัยของมันเมื่อแรกสร้างเสร็จ ณ ทศวรรษ 1960 สอง ผมชอบที่หนังเลือกจับภาพส่วนเสี้ยวเล็กๆ กระจัดกระจายของบางชีวิตใน “the White Building” โดยไม่พยายามจะเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าหากันเป็นองค์รวม หรือพยายามทำให้หลายๆ…

“รอยแหว่งวิ่น” ใน “นคร-สวรรค์”

หนึ่ง https://www.facebook.com/puangsoi/videos/1545384905591813/   ในแง่กระบวนการ-วิธีการ ความเป็นภาพยนตร์ “สารคดีผสมเรื่องแต่ง” ของ “นคร-สวรรค์” มิได้แปลกใหม่กว่าหนังอินดี้ไทยร่วมสมัยจำนวนหนึ่งแน่ๆ เช่น เมื่อ 5 ปีก่อน ภาพยนตร์เรื่อง “Mother” ของ “วรกร ฤทัยวาณิชกุล” (ปัจจุบัน เป็นสมาชิกและผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่) ก็บอกเล่าปัญหาชีวิตครอบครัวของผู้กำกับด้วยกระบวนท่า “กึ่งสารคดีกึ่งเรื่องแต่ง” คล้ายคลึงกัน ทว่า “นคร-สวรรค์” นั้นมีเสน่ห์เฉพาะในแบบฉบับของตัวเอง หนังเล่าเรื่องราวคู่ขนาน ระหว่างเนื้อหาส่วนสารคดีที่ “โรส”…

ท่องเทศกาลหนังสิงคโปร์ 2018

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีโอกาสไปท่องเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์เป็นหนที่สอง เลยถือโอกาสนำบันทึกซึ่งเขียนถึงหนังเรื่องต่างๆ ที่ได้ดู มาเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ (ยกเว้น “กระเบนราหู” ที่จะเขียนแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่ง ช่วงหลังปีใหม่ 2562) Season of the Devil (ลาฟ ดิแอซ) หนึ่ง งานของลาฟที่ได้ดูก่อนหน้านี้ คือ A Lullaby to the Sorrowful Mystery ซึ่งหนังเรื่องนั้นกับเรื่องนี้ดูจะเชื่อมโยงถึงกันพอสมควร อย่างน้อย ก็ได้แก่เรื่องบทบาทของ “เพลง/กวี” ในการต่อสู้ทางการเมือง…

“โคเรเอดะ” กับโปรเจ็กท์หนัง “สงครามโลกครั้งที่ 2”

ลิซ แช็กเกิลตัน: ผลงานก่อนหน้านี้อย่าง “The Third Murder” นับเป็นแนวทางการทำงานใหม่ๆ ของคุณอย่างแท้จริง สำหรับผลงานชิ้นต่อไป คุณยังมีแผนที่จะสำรวจตรวจสอบประเด็นอื่นๆ อีกบ้างไหม หรือจะย้อนกลับมาเล่าเรื่องราวสายสัมพันธ์ในครอบครัวอีกครั้ง? ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ: ยังมีหลายประเด็นที่ผมอยากนำมาทำเป็นหนัง รวมทั้งโปรเจ็กท์เกี่ยวกับบทบาทของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้ก่อความผิดพลาดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่มันก็เป็นเรื่องยากที่จะมัดรวมโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะคนญี่ปุ่นต่างต้องการลบล้างความผิดบาปครั้งนั้นออกจากความทรงจำของพวกตน แต่ในฐานะคนทำหนัง ผมรู้สึกว่าตัวเองควรจะต้องกล้าชนกับประเด็นดังกล่าว เหมือนที่ยอดผู้กำกับฯ เช่น นางิสะ โอชิมะ และโชเฮ อิมามุระ เคยแผ้วถางหนทางเอาไว้ในอดีต…

“ทิลดา สวินตัน” จะร่วมแสดงใน “Memoria” หนังยาวเรื่องใหม่ของ “อภิชาติพงศ์”

เว็บไซต์ thefilmstage.com รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจาก The Independent ว่า ทิลดา สวินตัน นักแสดงหญิงระดับยอดฝีมือคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ร่วมสมัย ซึ่งเคยได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (จากหนังเรื่อง Michael Clayton) จะมาร่วมแสดงใน "Memoria" หนังยาวเรื่องใหม่ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล "Memoria" คือภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของอภิชาติพงศ์ที่จะถ่ายทำภายนอกประเทศไทย โดยหนังมีแผนจะไปออกกองที่ประเทศโคลอมเบียในปี 2019 ก่อนหน้านี้ เจ้าของรางวัลปาล์มทองคำคนเดียวของไทยเคยพูดถึงหนังเรื่องใหม่เอาไว้ว่า ผลงานชิ้นนี้จะย้อนกลับไปเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงและความหวาดกลัวที่ก่อตัวขึ้นในจิตใจชาวโคลอมเบียช่วงยุคทศวรรษที่ 1970-80 สวินตันบอกว่าเธอกับอภิชาติพงศ์ได้พูดคุยถึงโอกาสในการร่วมงานกันมายาวนานกว่าหนึ่งทศวรรษ นอกจากนี้ ทั้งคู่ยังเคยร่วมกันจัดเทศกาลภาพยนตร์ที่เกาะยาวน้อยมาแล้วเมื่อปี 2012 https://www.facebook.com/BioscopeMagazine/photos/a.205625784073.129744.180987564073/10150662550924074/?type=3&theater…

ข้อสังเกตสั้นๆ หลังได้ชมหนังเรื่อง “ดาวคะนอง”

ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์) ถูกชวนให้ไปดูหนังเรื่องนี้ในรอบพิเศษ เพื่อรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาฯ ต้องขอขอบคุณทีมงานผู้สร้างมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ เมื่อได้ดูหนังแล้ว ก็พบว่าเป็นงาน "ยาก" มากๆ ที่จะเรียบเรียง-ประมวลความคิดออกมา เพื่อเขียนถึงหนังเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เลยคิดว่า คงยังไม่เขียนบทความถึง "ดาวคะนอง" อย่างเป็นทางการ จนกว่าจะได้ดูซ้ำอีกอย่างน้อยสักหนึ่งรอบในช่วงปลายปี ที่หนังจะเข้าฉายในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงข้อสังเกต-ความรู้สึกสั้นๆ ที่กระจัดกระจาย และไม่เป็นระบบระเบียบเท่าไหร่ครับ…