บันทึกถึง “One Cut of the Dead”

https://www.youtube.com/watch?v=3i3Ny4mn-bU เบื้องต้นเลย คือ หนังงดงามและสนุกมากๆ ทีนี้มาว่ากันถึงประเด็นน่าสนใจในหนังเป็นข้อๆ ไป หนึ่ง ไม่แปลกใจถ้าจะมีการนำหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มาวางคู่กับ “เณรกระโดดกำแพง” ในฐานะ “หนังพี่น้อง” ที่บอกกล่าวเล่าระบายถึงภาวะดิ้นรนของคนทำหนังตัวเล็กๆ อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่หนังทั้งสองเรื่องแชร์ร่วมกัน กลับถูกถ่ายทอดออกมาด้วยมุมมองและกลวิธีที่คล้ายจะแตกต่างกัน สอง ขณะที่ “เณรกระโดดกำแพง” พูดถึงชีวิต ความฝัน ความทุกข์ของคนทำหนังอินดี้นอกระบบอุตสาหกรรม “One Cut of the Dead” กลับเล่าถึงความสุข ความปรารถนาของคนทำหนังในระบบอุตสาหกรรม ที่รับงานหลากหลายจิปาถะ และยอมเรียกร้องงบประมาณจากนายทุน/เจ้าของเงินในราคาไม่สูงนัก…

The Guardian สัมภาษณ์ “อภิชาติพงศ์” ว่าด้วยความย้อนแย้งในสังคมไทย และอาการ “หัวปะทุ” ของเจ้าตัว

เว็บไซต์ The Guardian เผยแพร่บทสัมภาษณ์ "The man with the exploding head: the director inspired by his medical condition" (บุรุษผู้มีอาการหัวปะทุ: แรงบันดาลใจที่ผู้กำกับภาพยนตร์ได้รับจากภาวะป่วยไข้ของเขา) ซึ่ง "ฮันนาห์ เอลลิส-ปีเตอร์เซน" ไปสนทนากับ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวไทย บล็อกคนมองหนังขออนุญาตสรุปสาระสำคัญหลักๆ ของบทสัมภาษณ์ข้างต้น มานำเสนอดังต่อไปนี้ หนึ่ง…

บันทึกถึง “แผลเก่า” ของ “เชิด ทรงศรี” (ฉบับบูรณะใหม่)

หนึ่ง สิ่งแรกเลยที่ตื่นตะลึง คือ ความงดงามของ “นันทนา เงากระจ่าง” จะนิยามว่านี่คือ “ความสวยแบบไทยๆ” ได้หรือเปล่า? ก็ไม่ค่อยแน่ใจ แต่อย่างน้อย นี่เป็น “ความสวยงาม” ที่หาได้ยากมากใน “วัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหว” นานาชนิดของสังคมไทยยุคปัจจุบัน ซึ่งคอนเซ็ปท์เรื่อง “ความสวย” ของสตรีได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว พอเห็นหน้าคุณนันทนา ก็นึกถึงประเด็นหนึ่งขึ้นมาได้ คือ ในวัยประมาณ 8-9 ขวบ ผมมีโอกาสไปวิ่งเล่นอยู่ใกล้ๆ กองถ่ายภาพยนตร์ “ทวิภพ” ของคุณเชิด และติดตากับรูปลักษณ์ที่สวยเด่นของ “จันทร์จิรา…