4 ประเด็นว่าด้วย “A World of Married Couple”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=gz3V-CglveQ เอาเข้าจริง นี่อาจเป็นบทสนทนาต่อเนื่องมาจากซีรี่ส์เกาหลีฮิตๆ หลายเรื่องก่อนหน้านี้ บรรดาซีรี่ส์ที่มักเล่าถึงชีวิตครอบครัว 2 ครอบครัวขึ้นไป อันประกอบด้วยตัวละครรุ่นพ่อแม่ และตัวละครรุ่นลูกที่กำลังก่อสานความรักซึ่งกันและกัน ก่อนที่เรื่องราวจะลงเอยในช่วงท้ายด้วยตอนจบปลายเปิดว่าด้วยคู่รักชายหญิงวัย 20-30 ปี ที่ยังไม่ได้ร่วมกันลงมือสร้างครอบครัวอันสมบูรณ์แบบของตนเองโดยฉับพลันทันที และแน่นอนว่าพวกเขาและเธอมักจะยังไม่มีลูก (คนเจนเนอเรชั่นหลาน) เป็นทายาทสืบสกุล (ในกรณีตัวละครนำของ “Reply 1988” แม้จะมีการสมรสเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าครอบครัวเหล่านี้ได้ให้กำเนิดทายาทหรือไม่) ราวกับว่า "ความเป็นครอบครัว" ก็ดี สถานภาพ "ความเป็นพ่อแม่" ก็ดี นั้นไม่ใช่ภาพกระจ่างชัดในความรับรู้ จินตนาการ…

ผู้สร้างและผู้ทำลายที่ชื่อ “Ema”

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=O57_XbgFL00 “Ema” คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ “พาโบล ลาร์เรน” ผู้กำกับชาวชิลี ที่มีผลงานสร้างชื่อ อาทิ “No” หนังว่าด้วยกระบวนการรณรงค์ก่อนการลงประชามติโค่นล้มเผด็จการ “ปิโนเชต์” และ “Jackie” ภาพยนตร์ชีวประวัติของ “แจ็กเกอรีน เคนเนดี้” หลังจากดู “Ema” จบ (หนังจะเผยแพร่ในเว็บไซต์ MUBI อีกราวครึ่งเดือน) ผมรู้สึกว่าลาร์เรนเก่งดี ที่สามารถหยิบฉวยเรื่องการเต้น เพศสภาพ ชนชั้น สถาบันครอบครัว ฯลฯ มาขยำรวมกัน…

Itaewon Class : “ลูกพี่” “เถ้าแก่” และการหายไปของ “พ่อ”

(เปิดเผยเนื้อหา) https://www.youtube.com/watch?v=BoU8OOWOb5s หลังดูซีรี่ส์เกาหลีอันโด่งดังอย่าง “Itaewon Class” จบลง ก็มีเรื่องวนเวียนอยู่ในหัวผมประมาณ 4-5 ประเด็น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัฒนธรรม “ลูกพี่” ตั้งแต่ต้นจนจบ ค่านิยมหลักประการหนึ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้นำเสนอก็คือ “วัฒนธรรมลูกพี่” (ในแบบเอเชียตะวันออก?) จนสามารถกล่าวได้ว่าการแข่งขันกันทางธุรกิจในระบบทุนนิยมผ่านกลไกตลาดหุ้นก็ดี การแสดงอำนาจบารมีแบบ “นักเลง” หรือ “พี่” (อาเฮีย) ก็ดี การใช้อิทธิพลนอก-ในระบบกฎหมายก็ดี ล้วนถูกห่อคลุมไว้ด้วย “วัฒนธรรมลูกพี่” ทั้งหมด เพียงแต่อำนาจบารมีของ “ลูกพี่” คนหนึ่งนั้นเสื่อมถอยลง…

“รอยแหว่งวิ่น” ใน “นคร-สวรรค์”

หนึ่ง https://www.facebook.com/puangsoi/videos/1545384905591813/   ในแง่กระบวนการ-วิธีการ ความเป็นภาพยนตร์ “สารคดีผสมเรื่องแต่ง” ของ “นคร-สวรรค์” มิได้แปลกใหม่กว่าหนังอินดี้ไทยร่วมสมัยจำนวนหนึ่งแน่ๆ เช่น เมื่อ 5 ปีก่อน ภาพยนตร์เรื่อง “Mother” ของ “วรกร ฤทัยวาณิชกุล” (ปัจจุบัน เป็นสมาชิกและผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่) ก็บอกเล่าปัญหาชีวิตครอบครัวของผู้กำกับด้วยกระบวนท่า “กึ่งสารคดีกึ่งเรื่องแต่ง” คล้ายคลึงกัน ทว่า “นคร-สวรรค์” นั้นมีเสน่ห์เฉพาะในแบบฉบับของตัวเอง หนังเล่าเรื่องราวคู่ขนาน ระหว่างเนื้อหาส่วนสารคดีที่ “โรส”…

“มาร-ดา”: “กระบวนการ/วิธีวิทยา” ที่ปริแตก

รอยปริแตกของ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” https://www.youtube.com/watch?v=WN6-gCQHKxo หากพิจารณาผลงานของ “ชาติชาย เกษนัส” ตั้งแต่ “ถึงคน.. ไม่คิดถึง” สารคดีโทรทัศน์ชุด “โยเดีย ที่คิด (ไม่) ถึง” ไล่มาถึง “มาร-ดา” “จุดร่วมหนึ่ง” ที่ตั้งมั่นดำรงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่องของเขา ก็คือ “กระบวนการ/วิธีวิทยา” อันหมายถึง การออกเดินทางไปพบปะผู้คน ณ ต่างสถานที่ ต่างบริบท ต่างช่วงเวลา หรือต่างมิติ เพื่อปะติดปะต่อข้อมูลที่ฉีกขาดกระจัดกระจาย แล้วเรียบเรียงลำดับความทรงจำเสียใหม่ให้เป็นระบบระเบียบยิ่งขึ้น ก่อนจะค้นพบคำตอบบางอย่างในเบื้องท้าย…

บันทึกถึง Roma

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=6BS27ngZtxg ขอพูดเรื่องเทคนิคแบบคนมีความรู้ชนิดงูๆ ปลาๆ ก่อนเป็นลำดับแรก กลายเป็นว่าองค์ประกอบหนึ่งที่ผมชอบมากใน Roma คือเรื่องเสียง ซึ่ง “อัลฟองโซ กัวรอง” พยายามเล่นกับคนดู ด้วยการทำให้เราได้ยินเสียงนู่นนี่ ทางโน้นทางนี้ ที่อยู่นอกเหนือไปจากสถานการณ์ที่ถูกโฟกัสในจอภาพยนตร์ ก่อนหน้านี้ ผมได้อ่านหลายความเห็นที่ตั้งข้อสงสัยว่า Roma นั้นเหมาะสมกับการเผยแพร่ผ่านช่องทางเน็ตฟลิกซ์มากน้อยแค่ไหน เพราะงานด้านภาพที่ดีของหนังอาจเหมาะสมสำหรับการนั่งชมผ่านจอใหญ่ๆ ในโรงภาพยนตร์มากกว่า อย่างไรก็ดี ผมกลับรู้สึกว่า ลูกเล่นด้านเสียงที่กัวรองเลือกใช้ กลับสะท้อนถึงวัฒนธรรมการเสพสื่อบันเทิงในจอคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟนได้ดี เพราะบ่อยครั้ง เวลาเราเปิดดูวิดีโอในคอมพิวเตอร์ เรามักเผลอ/ตั้งใจเปิดคลิปต่างๆ ในหลายๆ หน้าพร้อมกัน…

Shoplifters: ทางเลือกที่ 3 จากปัญหา “ครอบครัว” 2 แบบ และ “ดอกไม้ไฟ” ที่มองไม่เห็น

พื้นที่ตรงกลาง? ระหว่าง “สายเลือด” กับ “สายใยสังคม” ชอบท่าทีและประเด็นหลักของหนัง ซึ่งด้านหนึ่ง “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” กำลังพยายามตั้งคำถามกับเรื่องความสัมพันธ์ “ทางสายเลือด” อยู่แน่ๆ แต่ขณะเดียวกัน หนังก็ไม่ได้โรแมนติไซส์ “สายใย/สายสัมพันธ์ทางสังคม” รูปแบบอื่นๆ ที่เข้ามาก่อร่างสร้าง “ครอบครัว” ทดแทนความสัมพันธ์ชนิดแรก ดังจะเห็นได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของ “ครอบครัว (ที่เพิ่งสร้าง)” ในหนัง มันมีลักษณะ “สองหน้า” หรือกระตุ้นให้คนดูรู้สึกคลางแคลงใจได้บ่อยๆ (นับแต่ช่วงครึ่งหลังของเรื่องเป็นต้นไป) ว่าตัวละครเหล่านั้นกำลัง “จริงใจ” หรือ “ไก่กา”…

“ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” คนทำหนังญี่ปุ่นรายล่าสุด ผู้คว้า “ปาล์มทองคำ”

หมายเหตุ ปรับปรุงแก้ไขจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2561 ซึ่งมีจุดผิดพลาดตรงข้อมูลสถิติเรื่องแวดวงภาพยนตร์ญี่ปุ่นกับรางวัลปาล์มทองคำ “ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ” วัย 55 ปี เพิ่งพาหนังใหม่ของตนเองเรื่อง “Shoplifters” คว้า “ปาล์มทองคำ” อันเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ครั้งที่ 71 นี่คือครั้งที่ 7 ซึ่งหนังของเขาได้รับคัดเลือกให้ร่วมฉายในเทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการเข้าประกวดสายหลักเสีย 5 เรื่อง (โคเรเอดะได้เข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำหนแรกจากหนังเรื่อง “Distance” เมื่อปี 2001) ผู้กำกับฯ แนวหน้าจากญี่ปุ่น…

บันทึกถึง Insects in the Backyard (2553-2560)

หนึ่ง จำได้ว่าเคยดู Insects in the Backyard ครั้งแรก ในเทศกาลใดเทศกาลหนึ่ง ก่อนที่หนังจะโดนแบน แล้วจากนั้น ก็ไปสนใจเรื่องกระบวนการต่อสู้เพื่อให้หนังเรื่องนี้ได้กลับมาฉาย โดยค่อยๆ ลืมเลือนเรื่องราว จุดเด่น จุดด้อยของตัวหนังไปทีละน้อยๆ กระทั่งจำอะไรแทบไม่ได้เลยในอีก 7 ปีต่อมา สอง พอมาดูอีกครั้ง จึงพบว่าหนังมีอะไรหลายอย่างน่าสนใจดี ข้อแรกเลย คือ พบว่าหนังมี "ความสดดิบ" ที่มาพร้อมกับการ (เพิ่งจะ) ขยับขยายขอบเขตการทำงาน ณ ตอนนั้น…

“อนธการ” : การเดินทางระหว่างสองโลก ความรุนแรง และตัวละครลับที่ถูกซ่อนไว้

มติชนสุดสัปดาห์ 21-27 สิงหาคม 2558 "อนธการ" เป็นชื่อของหนังไทยที่กำลังลงโรง กำกับฯ โดย "อนุชา บุญยวรรธนะ" ลองเปิดพจนานุกรมดู พบว่า "อนธการ" หมายถึง "ความมืด" "ความมืดมน" บางแห่งบอกว่า "ความมืดมัว" ก็มี อย่างไรก็ตาม "อนธการ" ตามความตั้งใจของอนุชา น่าจะหมายถึงภาวะก้ำกึ่งกำกวม คือ ภาวะที่โลกไม่สว่างจ้าแล้ว ทว่า ขณะเดียวกัน ก็ยังไม่มืดสนิท เหมือนจวนจะหมดหวัง แต่ยังพอมีหนทางให้ฝันกันแบบรำไร…