


ความพร่าเลือนของรัฐ-ชาติ และความทับซ้อนของศาสนา ใน ‘สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์’
หมายเหตุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวาระครบรอบ 7 ปี แห่งการเสียชีวิตของ “บัณฑิต ฤทธิ์ถกล” หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย บล็อกคนมองหนังขอรำลึกถึงบัณฑิต ผ่านบทความว่าด้วย “สาบเสือที่ลำน้ำกษัตริย์” ภาพยนตร์ใน “ยุคปลาย” ของเขา ซึ่งถูกกล่าวถึงไว้ไม่มากนัก บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคป ภายหลังบัณฑิตเสียชีวิตได้ไม่นาน ไอ้กล่อมเป็นชายหนุ่มชาวโยเดีย/อยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปยังเมาะตะมะโดยกองทัพอังวะ เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ครั้นเมื่ออังวะกรีฑาทัพมารบกับกรุงเทพฯ ในสงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 กล่อมก็ถูกกองทัพพม่าเกณฑ์ให้ไปร่วมรบด้วย หลังทัพอังวะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิสามสบและท่าดินแดง […]

คนนอก “รัฐ/สังคม” ในหนังเรื่อง “ป่า”
(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 30 กันยายน-6 ตุลาคม 2559) “ป่า” คือภาพยนตร์ไทย ผลงานการกำกับฯ ของ “พอล สเปอร์เรียร์” คนทำหนังชาวอังกฤษ ซึ่งมีภรรยาเป็นชาวไทย และอาศัยอยู่ในเมืองไทยมานาน ก่อนหน้านี้ หนังเดินทางไปคว้ารางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติระดับเล็กๆ-กลางๆ มามากพอสมควร ก่อนจะกลับมาฉายแบบจำกัดโรงอย่างเงียบๆ ที่ประเทศไทย “ป่า” อาจไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ดีเลิศสมบูรณ์แบบ แต่จุดน่าสนใจ ก็คือ หนังเรื่องนี้มีลักษณะหรือองค์ประกอบหลายอย่างซึ่ง “ผิดแผก” จากหนังไทยทั่วไป มีทั้งลักษณะที่ “แปลกดี” และ “แปลกตลก” […]

“สันติ-วีณา” : ประสบการณ์ “พิเศษ” ของคนดูหนัง
(ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2559) (ชมภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา” ได้ที่นี่) สองเดือนที่แล้ว มีข่าวคราวสำคัญสำหรับวงการหนังไทย เมื่อ “สันติ-วีณา” ผลงานการกำกับของ “ครูมารุต” หรือ “ทวี ณ บางช้าง” ภาพยนตร์ไทยขนาดยาวเรื่องแรกที่ไปได้รางวัลจากงานประกวดระดับนานาชาติ และหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม. ได้รับคัดเลือกเข้าไปฉายในสาย “คานส์ คลาสสิคส์” ถือเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของไทย ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปีล่าสุด หลังจากฟิล์มต้นฉบับของหนังที่ลงโรงฉายเมื่อ […]