คนอ่านเพลง… สามทศวรรษเพลง “ประวัติศาสตร์” และภารกิจค้นหา “มวล พร้อมพงศ์” 20 Dec 202020 Dec 2020 วันที่ 21 ธันวาคม 2533 คือวันแรกที่เทปและซีดีอัลบั้มชุด “นินจา” ของ “คริสติน่า อากีล่าร์” ออกวางจำหน่าย ดังนั้น วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จึงถือเป็นวาระครบรอบ 30 ปี ของอัลบั้มชุดดังกล่าว แน่นอนว่านี่ย่อมต้องเป็นวาระครบรอบ 3 ทศวรรษของบทเพลงเด่นๆ จากผลงานชุดเปิดตัวของ “ติ๊นา” ไปพร้อมกันด้วย “ประวัติศาสตร์” คือหนึ่งในบทเพลงโดดเด่นเหล่านั้น ทั้งยังอาจจะเป็นเพลงที่ยืนยงข้ามกาลเวลามากที่สุดของ “คริสติน่า” บล็อกคนมองหนังจึงขออนุญาตนำงานเขียนชื่อ…
Cassette Radio “สายลมที่หวังดี” : ชีวประวัติของ “เพลงป๊อปร็อก-การเมือง” เพลงหนึ่ง 21 Nov 2020 หมายเหตุ ปรับปรุง-เพิ่มเติมเนื้อหาจากบทความชื่อเดียวกันในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2563 “ฉันอาจเป็นสายฝน เมื่อเธอร้อนใจ อบอุ่นเหมือนไฟ เมื่อเธอเหน็บหนาว อาจเป็นดนตรี กล่อมเธอเมื่อเหงา อาจเป็นแสงดาว เมื่อเธอแหงนมอง” https://www.youtube.com/watch?v=Yp1eN9I5vPg บนเวที “ม็อบเฟสต์” ถนนราชดำเนิน เมื่อช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน “เอ้ กุลจิรา ทองคง” และ “พัด สุทธิภัทร สุทธิวาณิช” นักร้องนำวง “Zweedz…
คนมองหนัง… ธงชัย วินิจจะกูล, ดาวคะนอง และ 6 ตุลา ที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคน 6 Oct 20206 Oct 2020 (หมายเหตุ แปลจากเนื้อหา 5 ย่อหน้าสุดท้าย ของหนังสือ Moments of Silence: The Unforgetting of the October 6, 1976, Massacre in Bangkok โดย ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล) สิ่งที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือวิถีชีวิตปกติทั่วไปของคนไทย ซึ่งข้อเท็จจริง, เรื่องแต่ง, ความเพ้อฝัน, ความจริง, การสวมบทบาท และชีวิตจริง ได้หลอมรวมกันอยู่ในนั้น…
ข่าวบันเทิง… ความทรงจำเกี่ยวกับ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” 11 Jun 202011 Jun 2020 หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ “ศรัณยู วงษ์กระจ่าง” ผู้ถือเป็นดาราสำคัญรายหนึ่ง สำหรับคนรุ่นๆ ผม (ที่อายุเกือบ 40 ปี) ขึ้นไป ผมก็ได้ย้อนรำลึกความหลังเกี่ยวกับนักแสดงผู้นี้ ผ่านโพสต์จำนวนมากมายของมิตรสหายในโซเชียลมีเดีย https://www.youtube.com/watch?v=yu0cOWnLW7Y ผมได้รำลึกถึงละครทีวี เช่น บ้านทรายทอง-พจมาน สว่างวงศ์ (2530) ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2532) รัตติกาลยอดรัก (2532) วนาลี (2533) วนิดา (2534) ซึ่งเป็นผลงานที่เคยผ่านตาในวัยประถม แต่กลับจดจำรายละเอียดต่างๆ แทบไม่ได้แล้ว (รวมถึงศักยภาพในฐานะนักแสดงของศรัณยู…
ข่าวบันเทิง 10 ปี ผ่านไป… เกิดอะไรขึ้นหลังจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คว้า “ปาล์มทองคำ”? 26 May 202026 May 2020 วันที่ 23 พฤษภาคม 2553 “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ผลงานภาพยนตร์ของ “อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” คือ หนังไทยเรื่องแรก (และเรื่องเดียวจนถึงปัจจุบัน) ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์ คว้ารางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ มาครองได้สำเร็จ “ก้อง ฤทธิ์ดี” อดีตสื่อมวลชน ซึ่งทำข่าวอยู่ที่คานส์เมื่อ 10 ปีก่อน วิเคราะห์ว่าชัยชนะของอภิชาติพงศ์ที่ฝรั่งเศสนั้น แยกไม่ขาดจากเหตุการณ์การประท้วงของคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร และการปราบปรามผู้ประท้วงโดยอำนาจรัฐ จนมีผู้ร่วมชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก (ส่วนใหญ่คือคนอีสาน) ณ จังหวะเวลาเดียวกัน เนื่องจาก “ลุงบุญมีระลึกชาติ” คือผลงานส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะ…
ข่าวบันเทิง “ธัญญ์วาริน” ให้สัมภาษณ์ The Guardian ประกาศไม่ได้เข้าสภาเพื่อไปสร้างความบันเทิง! 13 Apr 201913 Apr 2019 “ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์” นักทำหนังและว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ เพิ่งให้สัมภาษณ์กับ “ฮันนาห์ เอลลิส-ปีเตอร์เซน” แห่ง "เดอะ การ์เดียน" โดยมีประเด็นน่าสนใจ ซึ่งบล็อกคนมองหนังขออนุญาตนำมาแปล-สรุปความ-เรียบเรียงใหม่ และแบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ส.ส.ข้ามเพศคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ฮันนาห์-ปีเตอร์เซน ระบุว่าแม้การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม จะเต็มไปด้วยความไร้เสถียรภาพ และยังไม่แน่ชัดว่าพรรคการเมืองฝ่ายไหนจะได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้มีจุดเล็กๆ ทว่าสำคัญ ที่บางคนอาจมองข้ามไป นั่นคือรัฐสภาไทยจะได้ต้อนรับธัญญ์วาริน ในฐานะ ส.ส.คนข้ามเพศรายแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ บรรดานักการเมืองหน้าใหม่ที่มีธัญญ์วารินเป็นหนึ่งในนั้น…
คนมองหนัง แสงกระสือ: “หมู่บ้าน” และ “ตำนานปรัมปรา” ในหนังไทยยุคใหม่ 27 Mar 201927 Mar 2019 หนึ่ง ในบางแง่ “แสงกระสือ” ไม่ได้ถูกนำเสนอผ่านภาพลักษณ์ “ใหม่หมดจด” แม้จะมีบางองค์ประกอบของงานโปรดักชั่นที่แลดู “ใหม่” ตรงกันข้าม ท้องเรื่องของหนังนั้นย้อนไปถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนที่รูปลักษณ์ของ “ผีกระสือ” ซึ่งพวกเราคุ้นเคยจะก่อกำเนิดเสียอีก) ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็แสดงความเคารพต่อหนัง/ละคร “ผีกระสือ” รุ่นเก่าๆ อย่างไม่ปิดบัง ตั้งแต่การอ้างอิงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่างของผีประเภทนี้ ไปจนถึงการปรากฏตัวของนักแสดงอาวุโส “น้ำเงิน บุญหนัก” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเคียงคู่กับเรื่องราวของ “กระสือ” ในประวัติศาสตร์โทรทัศน์ไทย สอง ถ้าถามว่ามีอะไร “ใหม่” บ้างหรือไม่ในเนื้อหาของ “แสงกระสือ”?…
คนมองหนัง 4 หนังที่นึกถึง ก่อนเลือกตั้ง 24 มีนา 23 Mar 201923 Mar 2019 หลายวันก่อน เห็น The Matter ทำสกู๊ป “ก่อนเลือกตั้งดูอะไร หนังเรื่องไหนที่คนในแวดวงหนังไทยชวนดู” เลยลองมานั่งทำลิสต์เล่นๆ ดูบ้างว่า ถ้าให้คิดอย่างไวๆ มีหนังเรื่องไหนที่ตัวเองนึกถึงก่อนหน้าการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ October Sonata รักที่รอคอย เหตุผลที่นึกถึงหนังไทยอันยอดเยี่ยมเรื่องนี้ ก็เพราะผลงานของ “สมเกียรติ์ วิทุรานิช” ได้เน้นย้ำให้เราตระหนักว่าการต่อสู้ทางอุดมการณ์การเมืองนั้นเป็นการต่อสู้ในทางยาว ไม่จบสิ้นลงง่ายๆ และเราอาจไม่ได้มองเห็นหรือลิ้มรสความสำเร็จของมันในชั่วชีวิตของตนเอง แม้จะน่าท้อถอยเหนื่อยหน่าย แต่ในทางกลับกัน การท่องไปบนเส้นทางการต่อสู้อันยาวไกลดังกล่าวก็ต้องอาศัยความอดทน (ที่จะรอคอย)…
ข่าวบันเทิง The Guardian สัมภาษณ์ “อภิชาติพงศ์” ว่าด้วยความย้อนแย้งในสังคมไทย และอาการ “หัวปะทุ” ของเจ้าตัว 24 Oct 201824 Oct 2018 เว็บไซต์ The Guardian เผยแพร่บทสัมภาษณ์ "The man with the exploding head: the director inspired by his medical condition" (บุรุษผู้มีอาการหัวปะทุ: แรงบันดาลใจที่ผู้กำกับภาพยนตร์ได้รับจากภาวะป่วยไข้ของเขา) ซึ่ง "ฮันนาห์ เอลลิส-ปีเตอร์เซน" ไปสนทนากับ "อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล" ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวไทย บล็อกคนมองหนังขออนุญาตสรุปสาระสำคัญหลักๆ ของบทสัมภาษณ์ข้างต้น มานำเสนอดังต่อไปนี้ หนึ่ง…
คนมองหนัง รวมรายชื่อหนังที่พูดถึงเหตุการณ์ “6 ตุลา” (แบบคร่าวๆ) และลำดับเวลาออกฉาย 5 Oct 20165 Oct 2021 (อัพเดตเนื้อหา ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2561) 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยภาระหน้าที่การงานบางอย่าง ทำให้มีโอกาสได้นั่งทบทวนรายชื่อหนังไทย ที่พูดถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผมจึงเพิ่งตระหนักว่าหนังกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกทั้งยังได้พบข้อมูลที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นั่นคือ ปี 2552 ถือเป็นปีที่มีการสร้างหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากที่สุด ลองมาอ่านรายละเอียดกันครับ รายชื่อหนังยาว-สั้นของไทยที่มีเนื้อหาหรือฉากหลังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเรียงลำดับตามปีที่ออกฉาย 2529…