บันทึกถึง “กรงกรรม” (2): ก่อนอวสาน

หนึ่ง ในบันทึกชิ้นก่อนหน้านี้ เคยตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะเด่นเชิง “พื้นที่” ซึ่งปรากฏในละครเรื่อง “กรงกรรม” นั่นคือ เครือข่ายของจักรวาลน้อยๆ ที่มีศูนย์กลางอยู่ ณ “บ้านแบ้” ในตลาดชุมแสง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนในอีกหลายๆ ตำบลของอำเภอชุมแสง ตลอดจนอำเภออื่นๆ ร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ถ้าเปรียบคนเขียนนิยาย คนเขียนบทละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ หรือกระทั่งคนดู เป็นเหมือน “นักมานุษยวิทยา” ที่เดินทางไปทำงานภาคสนามเพื่อศึกษาชีวิตของ “คนบ้านแบ้” “สนาม” ที่พวกเขาศึกษา ก็มิใช่หมู่บ้านชนบทอันห่างไกล เดี่ยวๆ โดดๆ หากเป็นโครงข่ายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในหลายๆ พื้นที่…

บันทึกถึง “กรงกรรม” (เบื้องต้น)

ปลายสัปดาห์ก่อน ถึงช่วงหยุดเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ทดลองดู “กรงกรรม” ย้อนหลังใน Mello ปรากฏว่า “ติด” ว่ะ 555 ดังนั้น เลยขอสรุปประเด็นที่คิดได้ ณ เบื้องต้น เกี่ยวกับละครเรื่องนี้ เป็นข้อๆ ดังนี้ หนึ่ง ขอสารภาพว่าไม่ได้ดูครึ่งแรกของ “สุดแค้นแสนรัก” ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ “จุฬามณี” หรือ “นิพนธ์ เที่ยงธรรม” เช่นกัน ทั้งยังมีเนื้อหาข้องเชื่อมโยงกับ “กรงกรรม” ด้วย แต่เท่าที่ได้ดู…