“มอน ลาเฟร์เต้” นักร้อง-นักแต่งเพลงหญิงคนสำคัญแห่งลาตินอเมริกา

“มอน ลาเฟร์เต้” (Mon Laferte) คือนักร้อง-นักแต่งเพลงหญิงวัย 38 ปี ซึ่งถือเป็นศิลปินเพลงป๊อปร่วมสมัยชาวชิลีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในระดับนานาชาติ/ข้ามชาติ ไม่ว่าจะพิจารณายอดผู้ฟังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ยอดขายผลงาน หรือความสำเร็จบนเวทีมอบรางวัลลาตินแกรมมี่ ลาเฟร์เต้เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีตั้งแต่ตอนอายุ 9 ขวบ หลังเธอชนะการประกวดร้องเพลงและได้รับรางวัลเป็นกีตาร์ ในวัย 13 ปี เธอได้รับทุนให้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนดนตรีประจำท้องถิ่น แล้วก็เริ่มเพิ่มพูนประสบการณ์ของตนเองผ่านการเข้าไปเล่นดนตรีตามบาร์ต่างๆ ในปี 2003 ลาเฟร์เต้ ซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อในวงการบันเทิงว่า “มอนเซร์รัต บุสตามันเต้” ได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการเรียลลิตี้โชว์ทางสถานีโทรทัศน์ ปีเดียวกัน เธอมีผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศบ้านเกิด…

สามทศวรรษเพลง “ประวัติศาสตร์” และภารกิจค้นหา “มวล พร้อมพงศ์”

วันที่ 21 ธันวาคม 2533 คือวันแรกที่เทปและซีดีอัลบั้มชุด “นินจา” ของ “คริสติน่า อากีล่าร์” ออกวางจำหน่าย ดังนั้น วันที่ 21 ธันวาคม 2563 จึงถือเป็นวาระครบรอบ 30 ปี ของอัลบั้มชุดดังกล่าว แน่นอนว่านี่ย่อมต้องเป็นวาระครบรอบ 3 ทศวรรษของบทเพลงเด่นๆ จากผลงานชุดเปิดตัวของ “ติ๊นา” ไปพร้อมกันด้วย “ประวัติศาสตร์” คือหนึ่งในบทเพลงโดดเด่นเหล่านั้น ทั้งยังอาจจะเป็นเพลงที่ยืนยงข้ามกาลเวลามากที่สุดของ “คริสติน่า” บล็อกคนมองหนังจึงขออนุญาตนำงานเขียนชื่อ…

“ไกล” : จากปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2560

สถานะของเพลง “ไกล” ในปลายทศวรรษ 2530 https://www.youtube.com/watch?v=ZtSvQeY4ld0 ไม่ว่าจะนิยามเพลง “ไกล” ว่าเป็นผลงานแนวโปรเกสซีฟร็อก โอเปร่าร็อก ฯลฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นตรงกันก็คือผลงานเพลงดังกล่าวคือการเปิดตัว “มาโนช พุฒตาล” ในฐานะนักดนตรี-นักแต่งเพลงฝีมือยอดเยี่ยม ประดุจนาวาที่นำพาเขาโดยสารข้ามมาจากอีกฟากฝั่งทางวิชาชีพ อันได้แก่ การเป็นพิธีกรรายการดนตรี นักจัดรายการวิทยุ หรือนักวิจารณ์ “ไกล” เข้ามาสร้างความแหวกแนวให้แก่อุตสาหกรรมเพลงไทยในช่วงครึ่งหลังทศวรรษ 2530 ด้วยเนื้อหาเชิงปรัชญาที่ลึกซึ้ง คมคาย ชวนขบคิด และด้วยความยาว (เกือบ 24 นาที)…

หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019

หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…

รำลึกถึง “ป๋อม บอยไทย” (2509-2562)

หนึ่ง ในฐานะของคนที่เริ่มฟังเพลงอย่างจริงจัง ณ ช่วงปลายทศวรรษ 2530 ถึงต้นทศวรรษ 2540 ผมมักเห็นแย้งเสมอเวลาใครพยายามผูกโยงว่า “วงการเพลงอินดี้ไทย” ยุค 90 นั้น “เท่ากับ” ดนตรีแนว “อัลเทอร์เนทีฟร็อก” แน่นอน วงการเพลงอินดี้ยุคนั้นก่อตัวขึ้นจากกระแสอัลเตอร์ฯ และศิลปินอินดี้จำนวนมากก็เป็นที่รู้จักจากการผลิตผลงานแนว “อัลเทอร์เนทีฟร็อก” แต่ก็ยังมีศิลปินแนวอื่นๆ ที่เข้ามาบุกเบิกแผ้วถางที่ทางเฉพาะของตน และสร้างสีสันอันแตกต่างให้แก่วงการเพลงอินดี้หรืออุตสาหกรรมดนตรีไทยยุค 90 “บอยไทย ยุคแรก” ที่นำโดย “ชัยยุทธ โตสง่า” หรือ “ป๋อม…

ฟัง 11 เพลงเด่นของ “โซลอาฟเตอร์ซิกส์” ก่อนคอนเสิร์ตใหญ่ปลายเดือน พ.ค.

https://youtu.be/Vm_r-o-Qojo สำหรับคนฟังเพลงวัย 30-50 ปี หากให้เอ่ยชื่อวงดนตรีไทยสากลที่ดียิ่งวงหนึ่งในเจนเนอเรชั่นของพวกเรา ย่อมต้องมี “โซลอาฟเตอร์ซิกส์” รวมอยู่ด้วย วันที่ 31 พฤษภาคมนี้ ศิลปินเจ้าของ 6 รางวัลสีสัน อวอร์ดส์ จากสองสตูดิโออัลบั้มที่วางแผงเมื่อปี 2539 และ 2545 จะกลับมาเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ (น่าจะเป็นครั้งที่สามของพวกเขา) ชื่อ “ความทรงจำของก้อนหิน” ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ โดยเริ่มจำหน่ายบัตรเข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaiticketmajor.com/concert/soul-after-six-2019-th.html)…

“Jocelynang Baliwag” (บทกวีแปลจากเพลงประกอบภาพยนตร์ของ “ลาฟ ดิแอซ”)

“Jocelynang Baliwag” https://www.youtube.com/watch?v=vVeDuJQmk_s รักเดียวที่จิตวิญญาณฉันทูนเทิด ถือกำเนิดอย่างพิสุทธิ์งามเลิศหล้า เป็นน้ำปรุงกลั่นจากยอดแห่งผกา คือธาราพุ่งสราญบันดาลใจ ดุจน้ำพุสุขกำซาบบนสวนสวรรค์ ติดตรึงฉันตราบชีวีจะหาไม่ เนตรเย้ายวนรอยยิ้มหวานกว่าใครๆ กล่อมดอกไม้ให้ผลิบานเกินคะเน เมตตาเธอฉันน้อมรับปราศเงื่อนไข ยึดมั่นไว้ไร้ความกลัวไม่หันเห ยอดชีวาไถ่บาปฉันอย่าทิ้งเท กลางทะเลผันผวนอย่าปล่อยจม คนต่ำต้อยขัดสนอยากวอนขอ ฉันเฝ้ารอรักแท้ในยุคขืนข่ม ฉันยอมเป็นยาจกดูโง่งม ดีกว่ากลวงเปล่าเศร้าตรมไร้หวังใด (ถอดความจากซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษในภาพยนตร์เรื่อง “A Lullaby to the Sorrowful Mystery” ของ “ลาฟ ดิแอซ”) https://www.youtube.com/watch?v=STxchtw6g88…

อัลบั้ม My Grain โดย Double Head ผลงานดี (ที่ถูกลืม) ของคนทำดนตรีประกอบ “เลือดข้นคนจาง”

หลายคนอาจจะรู้จัก “เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน” จากผลงานการทำดนตรีประกอบซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง “เลือดข้นคนจาง” ที่เพิ่งอำลาจอไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เทิดศักดิ์เคยมีผลงานทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ให้แก่หนังไทยและหนังเทศมามากมาย แต่บล็อกคนมองหนังจะไม่ขอกล่าวถึงงานส่วนดังกล่าวของเขา สิ่งที่เราอยากทำคือการพาผู้อ่านนั่งไทม์แมชชีนไปทำความรู้จักกับอัลบั้มเพลงไทยสากลที่ไพเราะมากๆ ชุดหนึ่ง ซึ่งเทิดศักดิ์รับหน้าที่เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2544 “อินดี้คาเฟ่” ค่ายเพลงเล็กๆ ที่ผลิตผลงานดีๆ หลายชุดในยุคนั้น (เช่น “ซีเปีย” ชุด “ไม่ต้องใส่ถุง” และ “Liberty” ชุด “Flying Free”) ได้ออกผลงานของศิลปินกลุ่มหนึ่งสู่ท้องตลาด นั่นคือผลงานของกลุ่มคนดนตรีที่เรียกตัวเองว่า…

รีวิว BOYdKO50th #2 Simplified the Concert

หนึ่ง นี่คือภาคต่อจากคอนเสิร์ต "Rhythm and Boyd" เมื่อต้นปี โครงสร้างก็คล้ายๆ กับคอนเสิร์ตนั้น คือ ถ้าแบ่งคอนเสิร์ตออกได้เป็นประมาณ 4 ส่วน เพลงจากสตูดิโออัลบั้มชุดสองของ "บอย โกสิยพงษ์" ร่วมด้วยงานเกี่ยวเนื่อง คืออีพีชุด "One" และซิงเกิล "Home" จะไปกองอยู่พาร์ทแรก ส่วนสามพาร์ทหลัง ก็เป็นช่วงเพลงฮิตอื่นๆ ของเจ้าตัว (ในช่วงคาบเกี่ยวระหว่างงานชุดสอง กับ "Million Ways to Love…

“Three Lions” เส้นทางกลับบ้านอันยาวไกลและซับซ้อนของทีมชาติอังกฤษ

หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=RJqimlFcJsM การทะลุเข้าถึงรอบสี่ทีมสุดท้ายในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2018 ของทีมชาติอังกฤษ ส่งผลให้เพลงเชียร์อมตะนิรันดร์กาลอย่าง "Three Lions" ถูกนำมาขับขานโดยกว้างขวางอีกคำรบ แฟนบอลอังกฤษยุคร่วมสมัยหลายรายอาจทึกทักว่านี่คือเพลงที่มีชื่อว่า "Football’s coming home" ตามท่อนฮุกอันลือลั่น บางคนอาจนึกว่านี่เป็นเพลงเชียร์สามัญประจำบ้านของทีมชาติอังกฤษ ยามลงแข่งขันทัวร์นาเมนต์ใหญ่ มานานแสนนาน ทว่าในข้อเท็จจริง เพลงที่สะท้อนถึงอารมณ์ปลื้มปีติและความหวังครั้งใหม่ (ซึ่งเพิ่งแหลกสลายลง) ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน สอง https://www.youtube.com/watch?v=oyoy2_7FegI ปี 1996 อังกฤษรับบทบาทเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยทีมสิงโตคำรามสามารถผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้เยอรมนีในการดวลจุดโทษ…