คนมองหนัง อ่าน ‘ทวิภพ’ ฉบับ ‘สุรพงษ์ พินิจค้า’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ (บทความอำลาไบโอสโคป) 30 Jan 202030 Jan 2020 บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารไบโอสโคปช่วงปี 2554 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ซ้ำอีกครั้งที่บล็อกคนมองหนัง เนื่องในโอกาสที่ “ไบโอสโคป” เพิ่งเดินทางไปถึงจุดสิ้นสุด ซึ่งย่อมมิได้หมายถึง “จุดอวสาน” แต่อย่างใด อ่าน ‘ทวิภพ’ ผ่าน ‘อัสดงคตคดีศึกษา’ ฉบับนี้ อยากเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับบทความชื่อ An Ambiguous Intimacy: Farang as Siamese Occidentalism (ความใกล้ชิดอันกำกวม: ฝรั่งในฐานะอัสดงคตคดีศึกษาของสยาม) ซึ่งเขียนโดย อ.พัฒนา กิติอาษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำโครงการอุษาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ…
คนมองหนัง รีวิว Kim Ji-young: Born 1982, Dracula และ มือปืน/โลก/พระ/จัน 2 16 Jan 202016 Jan 2020 Kim Ji-young: Born 1982 หาก “บงจุนโฮ” บอกว่า “Parasite” คือส่วนต่อขยายของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีอันยาวนาน เรื่องราวของ “Kim Ji-young: Born 1982” ก็คงเป็นส่วนต่อขยายของสื่อบันเทิงเกาหลีร่วมสมัย (โดยเฉพาะซีรีส์) ที่มีแนวโน้มจะครุ่นคิดถึงประเด็นความกดดันของลูกผู้หญิง, ขบวนการ Me Too และสายสัมพันธ์ตึงเครียดในสถาบันครอบครัว อย่างหนักแน่นจริงจัง หนังเรื่องนี้พาเราเข้าไปไตร่ตรองสะท้อนคิดถึงประสบการณ์/บาดแผลร่วมของสตรีจำนวนมาก ตลอดจนอาการป่วยไข้ของสังคมเกาหลีในภาพรวม ที่สำแดงผ่านอาการป่วยไข้ทางใจของปัจเจกบุคคล/ตัวละครนำชื่อ “คิมจียอง” เอาเข้าจริง “คิมจียอง” จึง “ถูกสิง”…
ข่าวบันเทิง… หนัง-เพลงที่ชอบ ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทึ่ง ในปี 2019 1 Jan 20201 Jan 2020 หนังต่างประเทศที่ชอบ Parasite นี่คือหนังที่ครบรสดี มีทั้งรสชาติความเป็นละครหลังข่าว มีสารหลักคือประเด็นเรื่องความแตกต่าง-ขัดแย้งทางชนชั้น ซึ่งถูกนำเสนอผ่านมิติทางด้านสัญลักษณ์, พื้นที่ และสถาปัตยกรรม อย่างเข้มข้น แพรวพราว และสนุก คลิกอ่าน สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” Midsommar นี่คือหนังที่มีฉากหน้าเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ แต่พอตัวละครนำของเรื่องเป็นนักเรียนมานุษยวิทยา ซึ่งเข้าไปท่องเที่ยว/ศึกษาเทศกาล/พิธีกรรมของชุมชนแห่งหนึ่งในสแกนดิเนเวีย สถานภาพอีกด้านของหนังเรื่องนี้จึงเป็น “ภาพยนตร์ทางมานุษยวิทยา” (ซึ่งชวนถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดเทศกาล-พิธีกรรม-ตำนานปรัมปรา) อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ น่าแปลกใจว่าทำไมนักมานุษยวิทยา/นักเรียนมานุษยวิทยาที่เมืองไทยถึงไม่ค่อยพูดถึงหนังเรื่องนี้กัน? คลิกอ่าน Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน)…
คนมองหนัง 3 ประเด็นเกี่ยวกับ “ดิว ไปด้วยกันนะ” 8 Nov 20198 Nov 2019 หนึ่ง พอได้ฟังพวกเพลง “ดีเกินไป” หรือ “...ก่อน” ตลอดจนวัตถุความทรงจำเกี่ยวกับยุค 90 ภายในหนัง ก็จะเกิดความอยากเรื่องหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะสร้างเรื่องเล่าดีๆ ที่มีวัฒนธรรมในยุค 90 เป็นแก่นกลางของตัวเรื่อง มิใช่บริบทแวดล้อม ฉากหลังรางๆ หรือกิมมิกน่ารักๆ เพราะผมรู้สึกว่าวัฒนธรรมยุค 90 ยังไม่ได้เป็นแกนกลางในเรื่องเล่าของหนังไทยอย่าง “ดิว ไปด้วยกันนะ” หรือกระทั่ง “2538 อัลเทอร์มาจีบ” เสียทีเดียว ผมยังอยากอ่านหนังสือหรือดูหนังสารคดี-หนังฟิกชั่น ที่พูดถึงเพลงยุค 90, วัฒนธรรมวิทยุ-โทรทัศน์ยุค…
คนมองหนัง “Joker”: หมดเวลาของ “งานรื่นเริง” 16 Oct 201916 Oct 2019 “ชุมพล เอกสมญา” และ “Sat & sun” ข้อนี้เป็นเกร็ดเล็กๆ https://www.youtube.com/watch?v=9B8jFOX7SlA ระหว่างดูหนัง ผมจะคิดถึงเพลง “ตัวตลก” ของ “Wildseed” (ชุมพล เอกสมญา) ซึ่งมีอายุครบ 20 ปีพอดี ครั้น “โจ๊กเกอร์” ไปป่วนรายการโทรทัศน์ชื่อดังจนเกิดเหตุการณ์ใหญ่ หนังก็นำเพลง “Spanish Flea” มาใช้เป็นเสียงดนตรีเปิดก่อนเข้าช่วงข่าวด่วน https://www.youtube.com/watch?v=5Z0pP8FqYvk เชื่อว่าคนดูหนังหลายรายคงนึกถึงรายการวิทยุ “Sat & Sun”…
คนมองหนัง 3 ประเด็นกับ “ชะตาธิปไตย” 5 Oct 20195 Oct 2019 https://www.youtube.com/watch?v=XjksMofqRPc จุดที่ชอบมาก ผมชอบวัตถุดิบหลักของหนังสารคดีเรื่องนี้ นั่นคือการไปตามติดชีวิตการหาเสียงเมื่อการเลือกตั้งปี 2554 ของหมอชลน่าน ศรีแก้ว หมอบัญญัติ เจตนจันทร์ หมอภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ เพื่อนนักเรียนแพทย์ศิริราช ซึ่งหันมาทำงานการเมืองคล้ายๆ กัน แต่ต่างพรรค ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับ/ผู้บันทึกเรื่องราว คือ คุณหมอเดชา ปิยะวัฒน์กูล จะตั้งใจหรือไม่ แต่ไปๆ มาๆ การตามติดสามคุณหมอนักการเมือง ได้นำไปสู่ผลลัพธ์สามแบบบนจอภาพยนตร์ หนังประสบความสำเร็จในการฉายภาพหมอชลน่านออกมาเป็นมนุษย์สามัญ (แบบลูกผู้ช้ายลูกผู้ชาย) ผู้เคยผ่านการสูญเสียสำคัญในวัยเยาว์ ผู้คลุกคลีใกล้ชิดเข้าถึงชาวบ้านด้วยสื่อกลางเช่นสุราและซองงานศพ ผู้เป็นมนุษย์ที่อาจไม่ได้มีแง่มุมความคิด/ทัศนคติชีวิตดีงามราวพระเอกไปเสียทุกเรื่อง (ผมคิดว่าเนื้อหาพาร์ตนี้จะนำไปสู่ข้อถกเถียงมากพอสมควร…
คนมองหนัง “ฮักบี้ บ้านบาก”: สายสัมพันธ์ระหว่าง “บ้านบาก” กับ “พระนคร-สยาม” และ “เอ็มเคสุกี้” 11 Sep 201911 Sep 2019 หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=mgoDF97ixg4 คนส่วนใหญ่อาจนิยามให้ “ฮักบี้ บ้านบาก” เป็น “หนังบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” อย่างไรก็ตาม จากรสนิยมและฉันทาคติส่วนตัว ผมเลือกจะมองว่า “ปื๊ด ธนิตย์ จิตนุกูล” ซึ่งมีเครดิตเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ ย่อมมีบทบาทสำคัญต่อตัวหนังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน “สวัสดีบ้านนอก” (2542) ผลงานของ “ปื๊ด ธนิตย์” ถือเป็นหนังไทยในดวงใจของผม ณ ช่วงแรกเริ่มดูหนังตอนต้นทศวรรษ 2540 น่าสนใจว่า “สวัสดีบ้านนอก” และ “ฮักบี้ บ้านบาก”…
คนมองหนัง “ยุคทอง” ใน Last Night I Saw You Smiling 7 Sep 201911 Sep 2019 ไม่ขอลงรายละเอียดหรือบรรยายอะไรเกี่ยวกับตัวหนังมากนัก เพราะคิดว่าคงมีท่านอื่นๆ เขียนถึงไปเยอะแล้ว หรือกำลังจะเขียนในอนาคตอันใกล้ โดยส่วนตัว รู้สึกว่าหนังสารคดีจากกัมพูชาเรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่ 2-3 จุด https://www.youtube.com/watch?v=HJzcUx_jUqM หนึ่ง คนดูจะไม่ได้มองเห็นรูปพรรณสัณฐานของ “the White Building” ช่วงก่อนถูกทุบ ในมุมกว้างๆ เลย แต่จะเห็นเพียงเสี้ยวเล็กส่วนน้อยภายในตึกหรือด้านนอกอาคาร รวมทั้งภาพนิ่งที่สื่อถึงความโอ่อ่าทันสมัยของมันเมื่อแรกสร้างเสร็จ ณ ทศวรรษ 1960 สอง ผมชอบที่หนังเลือกจับภาพส่วนเสี้ยวเล็กๆ กระจัดกระจายของบางชีวิตใน “the White Building” โดยไม่พยายามจะเชื่อมโยงแต่ละส่วนเข้าหากันเป็นองค์รวม หรือพยายามทำให้หลายๆ…
คนมองหนัง Midsommar: “เทศกาล” ในอุดมคติ? ของนัก (เรียน) มานุษยวิทยา 4 Sep 20194 Sep 2019 (เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์) หนึ่ง https://www.youtube.com/watch?v=V5umHfC9sfA เข้าไปดูหนังเรื่องนี้โดยแทบไม่รู้อะไรมาก่อน ไม่รู้จักผู้กำกับ คือ “อารี แอสเตอร์” และไม่เคยดูหนังเรื่องอื่นๆ ของเขา ที่พอรู้เลาๆ คือ หนังเรื่องนี้เหมือนจะเป็น “ภาพยนตร์สยองขวัญ” ครั้นเมื่อเข้าไปดูจริงๆ ในโรงหนัง ผมกลับรู้สึกว่า นี่เป็นภาพยนตร์ที่นักมานุษยวิทยาหรือคนเรียนมานุษยวิทยาน่าจะชอบ อิน หรืออยากอภิปรายถกเถียงกับมันมากๆ โดยส่วนตัว ผมอยากจะลองนิยาม (มั่วๆ) ให้ “Midsommar” เป็น “anthropological film” ซึ่งมิได้หมายถึงภาพยนตร์สารคดีชาติพันธุ์ (ethnographic…
คนมองหนัง สัพเพเหระคดีว่าด้วย “Parasite: ชนชั้นปรสิต” 6 Aug 201910 Aug 2019 “ชนชั้นปรสิต” และเรื่องอื่นๆ ระหว่างและหลังดู “Parasite” จะคิดถึงงานเขียนและหนัง-ซีรี่ส์จำนวนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยการนึกถึงเรื่องสั้นแนวสยองขวัญ “เก้าอี้พิศวาส” ของ “เอโดงาวะ รัมโป” แต่นักเขียนสตรีฐานะดีในเรื่องสั้นดังกล่าวยังตระหนักรู้ถึงการแทรกซึมเข้ามาของ “ชายแปลกหน้า” (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ได้รับรู้ความคิดจิตใจของเขา) ผิดกับคนรวย-ชนชั้นสูงในหนังเกาหลีเรื่องนี้ ที่ “ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย” ขณะเดียวกัน ก็นึกถึงบทกวีชิ้น “ใหญ่” และ “ยาว” ของ “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” ผู้ล่วงลับ เริ่มต้นด้วยเนื้อความที่ไม้หนึ่งเขียนว่า “เสรีชนแพร่ลามเหมือนแบคทีเรีย แทะนรกสวรรค์แบ่งดีชั่ว...”…