เรตติ้ง “เทพสามฤดู 2560” จวนจะแตะ 7 แล้วจ้า! (ส่วนยอดคลิกชมทางยูทูบก็ร่วมล้านต่อตอน!!)

เรตติ้ง “เทพสามฤดู” แรงทั้งในทีวีและยูทูบ

ยังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับเรตติ้งของ “เทพสามฤดู 2560”

โดยล่าสุด อินสตาแกรมของบริษัทสามเศียร ผู้ผลิตละครเรื่องนี้ออกแพร่ภาพทางช่อง 7 ได้ให้ข้อมูลว่า

เทพสามฤดู 11-12

เรตติ้งของละครในวันที่ 5-6 ส.ค. นั้นอยู่ที่ 6.3 และ 6.5 ส่วนเรตติ้งประจำวันที่ 12-13 ส.ค. ก็อยู่ที่ 6.2 และ 6.8 ตามลำดับ

เทพสามฤดู 13-14

เท่ากับว่าละครจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องนี้ มีเรตติ้งจวนจะถึงหลัก 7 แล้ว แม้จะเพิ่งออกอากาศได้ไม่ถึง 20 ตอน (14 ตอน)

น่าสนใจว่าเมื่อตรวจสอบยอดผู้เข้าชมคลิปแบบ Full HD ของละครพื้นบ้านเรื่องนี้ ผ่านทางช่อง “ฟ้ามีตา ช่อง 7 HD” ซึ่งเป็นบัญชียูทูบของดีด้า-สามเศียร ก็พบว่าจำนวนผู้เข้าชมคลิป “เทพสามฤดู” แบบย้อนหลังนั้นมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

เช่น ตอนที่ 13 (12 ส.ค.) ซึ่งมียอดคลิกเข้าชมประมาณ 9.4 แสนครั้ง ขณะที่ตอนที่ 14 (13 ส.ค.) มียอดคลิกเข้าชมประมาณ 9.8 แสนครั้ง

ส่วนคลิปที่มียอดผู้ชมสูงสุด ณ ขณะนี้ คือ คลิปของตอนที่ 10 (30 ก.ค.) ซึ่งมียอดคลิกเข้าชมเกิน 1 ล้านครั้งเรียบร้อยแล้ว

(ข้อมูล ณ เวลา 03.30 น. วันที่ 19 สิงหาคม 2560)

ของแถม

หลายสัปดาห์ก่อน ทางเว็บไซต์ประชาไทได้มาพูดคุยกับคนทำบล็อกนี้ในประเด็นว่าด้วยละครจักรๆ วงศ์ๆ ร่วมสมัยครับ

นี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งของบทสนทนา

รวมจักร

เรื่องเก่าเอามาฉายซ้ำคนยังนิยม

นักวิชาการหลายท่านเคยวิเคราะห์ถึงประเด็นนี้เอาไว้ว่า “นี่เป็นจารีตในการเสพมหรสพต่างๆ ของคนไทย ตั้งแต่พวกลิเก มาถึงละครจักรๆ วงศ์ๆ และละครหลังข่าวภาคค่ำ” ตามคำอธิบายนั้น คนไทยอาจไม่ได้ต้องการความแปลกใหม่ในเชิงเรื่องราวจากมหรสพประเภทต่างๆ แต่พวกเขานิยมดูความบันเทิงที่มันเป็นเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ บ้างวิเคราะห์ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจเรื่องราว แต่สนใจตัวคนแสดงหรือดารามากกว่า คือเวลาดูหนังดูละคร พวกเขาไม่ได้สนใจว่าเรื่องราวมันจะดำเนินไปยังไง เรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งไม่ค่อยเห็นด้วยกับการวิเคราะห์แบบนั้นเสียทีเดียว

“ผมไม่แน่ใจว่าการนิยมเสพเรื่องราวบันเทิงซ้ำๆ นั้น เป็นลักษณะเฉพาะของคนไทยที่แปลกและแตกต่างจากคนในสังคมอื่นๆ จริงหรือไม่? เพราะมันก็มีงานศึกษาจำนวนไม่น้อยที่พบว่านิทานในภูมิภาคหนึ่งๆ หรือกระทั่งนิทานจากทั่วโลกนั้น มักมีโครงสร้างเรื่องราว ‘ร่วม’ กันอยู่ และเรื่องราวพวกนั้นจากยุคสมัยและพื้นที่ที่แตกต่างกัน มันมีลักษณะของการ ‘ทำซ้ำ’ กันไปมา พร้อมๆ กับการตีความหรือใส่รายละเอียด ‘ใหม่ๆ’ บางอย่างลงไป”

ขณะเดียวกันคนไทยอาจไม่ได้นิยมเสพความบันเทิงซ้ำๆ ด้วยเหตุผลว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่องราว ไม่สนใจเนื้อหาสาระ เพราะการได้ดูมหรสพเรื่องเดิมๆ อาจมี ‘หน้าที่’ บางอย่างของมันอยู่ การดูหนัง ดูละคร ที่มีโครงเรื่องเก่าๆ ซ้ำเดิม หมายความว่าคนดูจะสามารถ ‘คาดการณ์’ เรื่องราวของมหรสพนั้นๆ ได้

“มองในบางแง่ การคาดการณ์เรื่องราวได้อาจแสดงให้เห็นถึงอำนาจ และการเข้าถึงความรู้ของคนดู แทนที่พวกเขาจะกลายเป็นผู้รับเรื่องราวใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงจากผู้ผลิตละคร ในฐานะคนที่ไม่รู้หรือแทบไม่รู้อะไรเลย”

นอกจากนี้ การคาดการณ์เรื่องราวต่างๆ ล่วงหน้าได้ ยังอาจทำให้การชมมหรสพมีรสชาติขึ้น ในกรณีของการชมละครจักรๆ วงศ์ๆ เราอาจนึกถึงภาพกลุ่มคนมาดูละครประเภทนี้หน้าจอทีวี ไปพร้อมๆ กับการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่าเรื่องราวจะดำเนินอย่างไรต่อไป ใครจะรักกับใคร ใครจะอยู่ ใครจะตาย อาจก่อให้เกิดชุมชนของคนดู หรือการสื่อสารในทิศทางอื่นๆ นอกเหนือไปจากการสื่อสารทางเดียวระหว่างภาพในจอกับคนดู ที่ต้องเพ่งสมาธิในการชม ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มีความสำคัญ แต่มักถูกมองข้ามไป

หลายครั้งละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ชื่อเรื่องเดียวกันหรือมีโครงเรื่องเดียวกัน ถูกนำมาสร้างใน พ.ศ. ที่ต่างกัน ละครหลากหลายเวอร์ชั่นเหล่านั้นก็มีรายละเอียดเรื่องราวที่แตกต่างกันเยอะพอสมควร ชะตากรรมของตัวละครในเรื่องราวต่างเวอร์ชั่นก็แตกต่างกันไป ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือก็มี ฉะนั้น ในภาวะที่คล้ายจะ ‘คาดการณ์’ หรือ ‘ทำนาย’ ล่วงหน้าได้ของโลกละครจักรๆ วงศ์ๆ มันก็มีสิ่งที่ ‘คาดการณ์’ หรือ ‘ทำนาย’ ไม่ได้ แอบซ่อนอยู่

สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม ที่นี่ ครับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.