(ไม่ดราม่าประเด็น MV “ทศกัณฐ์”) ท็อปไฟว์เพลงป๊อปไทย ที่ร้อง-เล่าเรื่องราวแบบ “ยักษ์ๆ”

เห็นเขากำลังดราม่าประเด็น “ทศกัณฐ์” ศิลปะ “โขน” และเอ็มวี “เที่ยวไทยมีเฮ” กัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กำลังจะเสนอต่อไปนี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีข้างต้น

แต่ทางบล็อกของเราต้องการนำเสนอถึงบทเพลงป๊อปในยุคใกล้-ไกล ที่หยิบยกเอา “ยักษ์” มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวหรือตั้งประเด็นคำถามได้อย่างน่าสนใจมากกว่า

แค่ฟังเพลงเหล่านี้ คุณก็จะได้รับรู้แล้วว่าวิธีการตีความหรือครุ่นคิดถึง “ยักษ์” ในสังคมไทยนั้น ก้าวไปไกลกว่าดราม่าที่เกิดขึ้นช่วงวันสองวันนี้มากมายนัก

เฮ่อ!

เป็นไปไม่ได้

เพลงอมตะของ “ดิ อิมพอสซิเบิล” ซึ่งเขียนคำร้อง-แต่งทำนองโดยศิลปินแห่งชาติ “ครูพยงค์ มุกดา”

ครูพยงค์อุปมาให้ “ทศกัณฐ์” เป็นมาตรฐานสูงสุดบางประการ ซึ่งชายอาภัพรักผู้หนึ่งไม่สามารถจะไขว่คว้าหรือพุ่งทะยานไปยังจุดดังกล่าวได้

ร้ายก็รัก

หนึ่งในเพลงร้องปนแร็ปที่ไพเราะของ “โจอี้ บอย” ซึ่งพยายามถ่ายทอดเรื่องราวความรักอันผิดหวัง ผ่านมุมมองของ “ทศกัณฐ์/ตัวร้าย”

ยักษ์

ซิงเกิ้ลแรกจากอัลบั้มเต็มชุดที่สามของ “เดอะ โฟโต้ สติ๊กเกอร์ แมชชีน”

ดูเหมือน “ยักษ์” ในเพลงนี้ จะไม่ใช่ “ยักษ์” ตามวรรณคดีไทย หากเป็นตัวแทนของผู้ทรงภูมิรู้/ผู้มีอำนาจ ที่สุดท้ายก็ไม่ได้ตรัสรู้ไปทุกสิ่ง หรือไม่สามารถจัดการควบคุมทุกอย่างได้ครบถ้วนสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์

นิราศลงกา

ผลงานโดย “Yaak Lab” และ “ตุล อพาร์ตเมนต์คุณป้า” เพลงนี้ มีกลิ่นของ “ความแตกแยกจากการเมืองสองขั้ว” ปรากฏอยู่รางๆ

หากพิจารณาจากเนื้อหา ผู้แต่งนั้นเลือกจะเป็นฝ่าย “ยักษ์” ส่วน “ยักษ์” จะเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงมวลชนกลุ่มไหน? ผู้ฟังคงต้องตีความกันเอง และอาจตีความได้ไม่เหมือนกัน

(กระทั่งผมเอง ตอนฟังเพลงนี้ครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ก็ตีความไปทางหนึ่ง แต่พอได้มาฟังใหม่ ณ ยุคปัจจุบัน ผมกลับเห็นว่า “ยักษ์” และ “กรุงลงกา” ในเพลง มีความหมายแตกต่างจากการตีความครั้งที่แล้ว ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ)

ตัวร้ายที่รักเธอ

เพลงของวงดนตรีที่มีชื่อว่า “ทศกัณฐ์” อันเป็นการรวมตัวกันของเด็กหนุ่มจากจังหวัดชุมพร

ในแง่เนื้อหา เพลงนี้เดินตามรอยของ “ร้ายก็รัก” ขณะที่ในแง่ดนตรี มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นดนตรีไทยเดิม ดนตรีลูกทุ่ง และดนตรีป๊อป

น่าสนใจว่าตัวเพลงต้นฉบับนั้น แม้จะมียอดคลิกชม/ฟังในยูทูบเยอะ แต่กลับมีการกล่าวถึง “เสียงร้องนำ” ในสองแง่ คือ “ด่า” และ “เชียร์”

ที่น่าสนใจกว่า ก็คือ เพลงในฉบับคัฟเวอร์ซึ่งมีเสียงร้องนำไพเราะกว่านั้น กลับมียอดชม/ฟังในยูทูบสูงกว่าเพลงต้นฉบับ สำหรับคลิปด้านล่างนี้ เป็นเวอร์ชั่นของผู้เข้าประกวดรายการเดอะ วอยซ์ ไทยแลนด์ ซีซั่นล่าสุด

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.