คำกล่าวแนะนำหนังสั้นในโปรแกรม “ความปรารถนาของคุณจิตร” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 โดยจิตร โพธิ์แก้ว
โปรแกรมนี้ก็เป็นเพราะคุณชลิดา (เอื้อบำรุงจิต – รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ และผู้จัดเทศกาลหนังสั้น) ขอให้เลือกหนังที่ผมอยากดูอีกรอบ ก็เลยเลือกหนังที่หายากหน่อย
หนังทั้ง 7 เรื่องในโปรแกรมนี้เป็นหนังที่ผมเคยดูเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้ว แล้วก็ชอบมาก แล้วก็มันมีอะไรค้างคาใจ แล้วก็ส่วนใหญ่แล้ว ผู้กำกับหลายคนใน 7 เรื่องนี้ เป็นคนที่ผมไม่รู้จักเลย ผมก็เลยไม่สามารถขอหนังเขามาดูได้อีก
แล้วมันก็เป็นหนังที่ทำก่อนยุคยูทูบด้วย คือผมก็ได้ดูครั้งเดียวเมื่อ 15-20 ปีก่อน แล้วมันก็เหมือนหายสาบสูญไปเลย ผมก็เลยเลือกหนังชุดนี้มา เพราะสองคุณสมบัติสำคัญ
คือว่าเป็นหนังที่ผมชอบมาก แล้วก็มันหายาก แล้วส่วนใหญ่ เพื่อนๆ ซีเนไฟล์ของผมก็ไม่เคยดูหนังกลุ่มนี้เลย ก็เลยเลือกหนังกลุ่มนี้มาครับ
…
ขอพูดถึงรวมๆ แล้วกันว่าเวลาดูหนังกลุ่มนี้แล้ว ก็ให้คำนึงถึง “บริบทของเวลา” เป็นสำคัญ เพราะว่ามันทำขึ้นเมื่อ 15-20 ปีก่อน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองจากมุมมองปัจจุบัน แล้วเอาไปตัดสินมัน มันก็อาจไม่ยุติธรรมกับตัวหนัง เพราะว่าช่วง 15-20 ปีก่อน อย่างน้อย มันจะส่งผลกระทบต่อ “ปัจจัยสำคัญ” 3 ประการ คือ
หนึ่ง “เทคโนโลยี” เพราะว่ายุคนั้นมันยังไม่มีกล้องมือถือ หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้ เราดูแล้วอาจรู้สึกว่า โอ๊ย! เด็กมัธยมฯ เด็กประถมฯ ก็ทำหนังแบบนี้ได้ ใช้กล้องมือถือถ่ายก็ได้ แต่เราต้องไม่ลืมว่า 15-20 ปีก่อน มันยังไม่มีเทคโนโลยีกล้องมือถือ เพราะฉะนั้น หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้ที่ผมดูแล้วประทับใจ ก็เป็นเพราะว่าสมัยนั้น มันยังไม่ค่อยทำหนังแบบนี้กัน เพราะปัจจัยด้านเทคโนโลยี
สอง คือ ปัจจัยด้าน “สังคม-การเมือง” คือผมก็จำเนื้อเรื่องในหนัง 7 เรื่องนี้ไม่ค่อยได้ แต่รู้สึกว่า ถ้าจำไม่ผิด มันจะมีบางเรื่องที่เป็นหนังที่อาจจะต่อต้านทุนนิยม แต่เราต้องอย่าลืมว่า 15-20 ปีก่อน เรายังไม่มีรัฐประหาร ไม่มีปัญหาประชาธิปไตย ไม่มีปัญหาเผด็จการอะไรพวกนี้
เพราะฉะนั้น การดูหนังต่อต้านทุนนิยมที่สร้างขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน กับการดูหนังไทยที่ต่อต้านทุนนิยมที่สร้างขึ้นในยุคปัจจุบัน เวลาเราจะตัดสินใจหนัง (สองกลุ่มนี้) เราต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคม-การเมืองเมื่อ 15-20 ปีก่อน ด้วยว่ามันแตกต่างจากเมืองไทยในยุคปัจจุบันแบบ “หน้ามือเป็นหลังเท้า” ขนาดไหน
ปัจจัยที่สาม ก็คือว่าการที่หนังสัก 4 ใน 7 เรื่องนี้ อาจจะมีลักษณะในแบบหนัง “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ซึ่งจริงๆ แล้ว ในยุคปัจจุบัน มันมีหนังไทยที่ “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” เยอะมากๆ เลย แต่ว่าการที่ผมประทับใจหนังกลุ่มนี้มากเมื่อ 15-20 ปีก่อน เป็นเพราะว่ามันยังไม่ค่อยมีหนังไทย “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ในยุคนั้นมากนะครับ
เพราะว่าหนังในกลุ่มนี้มันสร้างขึ้นในปี 1997-2003 ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่ผู้กำกับหลายคนยังไม่โด่งดัง มันจะมีผู้กำกับอย่างอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ศะศิธร อริยะวิชา, พิมพกา โตวิระ หรือว่าคุณอารยา ราษฎร์จำเริญสุข หรือว่าอุรุพงษ์ รักษาสัตย์ คือกลุ่มนี้จะทำหนังสั้น “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ออกมาแล้วในยุคนั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศ เพราะฉะนั้น หนัง “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ของผู้กำกับโนเนมหลายๆ คนในยุคนั้น ก็เลยหายากอยู่
หนังกลุ่มนี้ เราดูแล้วเราต้องนึกว่ามันเป็นหนังที่มาก่อนหนัง “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ของใครหลายๆ คนในยุคต่อๆ มา คือ หลังจากปี 2003 แล้ว เราค่อยเจอผู้กำกับอย่างไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ หรือว่าวิศรา วิจิตรวาทการ, อโนชา สุวิชากรพงศ์, วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์ หรือว่าศิวโรจณ์ คงสกุล หรือว่าพอปี 2010 เราก็เจอ วชร กัณหา กับธีรนิติ์ เสียงเสนาะ
ก็เลยอยากให้นึกว่าการที่ผมประทับใจหนังกลุ่มนี้มากๆ เป็นเพราะว่ามันเป็นหนังที่เหมือนกับว่ามาก่อนหนัง “อาร์ต-นิ่ง-ช้า” ของไทย ที่หลายๆ คนทำกันในยุคต่อมาน่ะครับ
ก็คือว่าปัจจัยสำคัญ เราต้องคำนึงถึงเรื่อง “เวลา” ว่ามันส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อสังคม-การเมืองของคนไทย แล้วก็ส่งผลกระทบต่อสไตล์ของหนังสั้นไทยในยุค 20 ปีก่อน ที่มันแตกต่างกับสไตล์ของหนังสั้นไทยในยุคปัจจุบันด้วยครับ
หมายเหตุ ถอดความจากคลิปเสียงที่บันทึกโดยคุณวรงค์ หลูไพบูลย์
Reblogged this on NEW VOICE.
LikeLike