มาแล้วครับ! คลิปวิดีโอบันทึกการเสวนาหัวข้อ “อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์” เมื่อวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ SF World Cinema เซ็นทรัลเวิร์ล ซึ่งคั่นกลางระหว่างการฉายหนังสารคดี The Act of Killing และ The Look of Silence รอบพิเศษ
โดยมี ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ เป็นวิทยากร ชนม์ธิดา อุ้ยกูล แห่งกลุ่มฟิล์มกาวัน เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยส่วนตัว ชอบการให้ภาพสังคมการเมืองอินโดนีเซียในยุคนั้น และการอธิบายเงื่อนไขที่ทำให้การนำตัวผู้ก่ออาชญากรรมมาลงโทษยังเป็นไปไม่ได้ (แม้แต่พื้นที่ความทรงจำของเหยื่อก็ยังไม่มี) ของ อ.พวงทอง
ชอบการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างการสังหารหมู่ทางการเมืองที่อินโดนีเซีย กับการสังหารหมู่ทางการเมืองอื่นๆ ในอีกหลายกรณี ของ อ.พวงทอง ซึ่งชี้ให้เห็นว่า
ในกรณีของกัมพูชา สมัยเขมรแดง ในกรณีของจีน ยุคเหมาและปฏิวัติวัฒนธรรม เรื่อยไปถึงกรณีของโซเวียต สมัยสตาลิน และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของฮิตเลอร์ นั้นเป็นระบอบปฏิวัติที่พยายามสร้างสังคมใหม่ ด้วยการขจัดสิ่งแปลกปลอม ที่ถูกมองว่ามีอันตรายและเป็นภัยคุกคามออกไป หรือที่เรียกว่าเป็นการสร้าง Bloodly Utopia
แต่ในอินโดฯ นั้น เป็นการสร้างความรุนแรงเพื่อค้ำจุนอำนาจของกองทัพและเครือข่ายชนชั้้นนำกลุ่มเดิมๆ
นอกจากนี้ การอุปมาเปรียบเทียบว่า เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านๆ มาของไทยเป็นแค่ระดับ “รามเกียรติ์” ส่วนของอินโดฯ เป็นระดับ “มหาภารตะ” ที่ซับซ้อนกว่า โดย อ.ชาญวิทย์ ก็น่าสนใจไม่น้อย น่าเสียดาย ทีแกลงรายละเอียดไม่ลึกเท่าไหร่
อนึ่ง คำทำนายเกี่ยวกับเมืองไทยในอนาคตของ อ.ชาญวิทย์ นั้นน่ากลัวมาก
ขอขอบคุณคลิปดีๆ จาก Documentary Club